วันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2554

8/ การออมเงินในหุ้นมันดียังไง

ผมคงไม่นำไปเปรียบเทียบกับดอกเบี้ยเงินฝากนะครับ เพราะเคยพูดถึงไปแล้วในบทแรกๆ
แต่จะขออนุญาต ยกตัวอย่างหุ้นสัก 1 ตัวให้ดูกันดีกว่า
นั่นคือ หุ้น cpall (ซีพีออลล์) ซึ่งเป็นหุ้นที่อยู่ในกลุ่ม พานิชย์ และดำเนินกิจการที่เรารู้จักกันดี
นั่นก็คือ ร้าน 7/11 (เซเว่นอิเลฟเว่น)นั่นเอง

ต้นปี 2553 ราคาต่อหุ้น ของ cpall = 20-23 บาท ปันผล 4 % ต่อปี
สิงหาคม 2554 ราคาต่อหุ้น ของ cpall = 50 บาท ปันผล 4 % ต่อปี

พอจะเห็นภาพ ใช่มั๊ยครับว่า สิ่งที่เราได้รับ อย่างแรกเลยก็คือ ส่วนต่างหรือ up side ของราคาหุ้น
คือถ้าเราซื้อ หุ้น cpall ตอนต้นปี 2553 ที่ราคา 20 บาท 100 หุ้น ใช้เงิน 2000 บาท
สิงหาคม 2554 หุ้น cpall ราคา 50 บาท = 100 x 50 = 5000 บาท
ส่วนต่างราคา คือ 3000 บาท แถม ได้เงินปันผล อีก 4% คุณคิดว่าน่าสนใจมั๊ยครับ

แต่เดี๋ยวก่อนะครับ ในตลาดหุ้น มีหุ้นอยู่ หลายร้อยตัวให้เลือกซื้อ มีทั้งหุ้นดีๆน่าซื้อ
และหุ้นที่ไม่น่าซื้อ ปะปนกันไป ต้องศึกษาข้อมูลให้ดีครับ ไม่โลภ,มีความมั่นคงทางอารมณ์,รู้จังหวะ
โอกาสประสบความสำเร็จ ไม่ยากจนเกินไปครับ

วันเสาร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2554

7/ ประเภทของบัญชีซื้อ-ขาย หลักทรัพย์

บัญชีซื้อ-ขายหลักทรัพย์นั้น แบ่งเป็น 3 ประเภทคือ
1/ บัญชี มาร์จิ้น (credit balance account)
เป็นบัญชี ประเภทซื้อก่อนโดยใช้ เครดิต เหมือนการยืมเงิน โบรกเกอร์มาซื้อ เมื่อขายก็นำเงิน
มาใช้คืนโบรกเกอร์
2/ บัญชีเงินสด ( cash account )
สามารถ ซื้อก่อนได้ แต่ต้องหาเงินเข้าบัญชี เพื่อชำระค่าซื้อ ภายใน 3 วันหลังจากซื้อ
3/ บัญชีฝากเงินล่วงหน้า ( cash balance account )
เป็นบัญชี ประเภทที่เราต้องฝากเงินเข้าไปในบัญฃีก่อน จึงจะสามารถซื้อได้ตามจำนวนเงินที่เราฝากเข้าไป
ซึ่งบัญชีประเภทนี้ แหละครับ ที่แนะนำให้เปิด เนื่องจากเหมาะสมกับการออมเงินในหุ้นมากที่สุด

6/การเปิดบัญชีซื้อ-ขายหลักทรัพย์

เนื่องจากการซื้อหรือขายหุ้น ของบริษัทฯต่างๆนั้นเราไม่สามารถซื้อขายกันเองได้ จำเป็นต้องส่งคำสั่งซื้อ-ขาย
ผ่าน โบรกเกอร์หรือนายหน้า ซึ่งในปัจจุบัน มีบริษัทหลักหรัพย์ อยู่มากมายที่ให้บริการ และมีเงื่อนไขการให้บริการใกล้เคียงกัน ซึ่งเราสามารถสอบถาม ข้อมูลจากเว็บไซต์ ของบริษัท หลักทรัพย์เหล่านั้นได้เลย
หรือจะเข้าไปหาข้อมูล ได้ที่ settrade.com ครับ
โดยการส่งคำสั่งซื้อ-ขายนั้น เราสามารถทำได้ 2 วิธี ดังนี้
1/ส่งคำสั่งซื้อ-ขาย ด้วยตัวเองผ่าน อินเตอร์เนต โดยวิธีนี้จะเสียค่านายหน้า 0.15% ของมูลค่าการซื้อ-ขาย ไม่รวม vat 7 %
2/ส่งคำสั่งซื้อ-ขาย ผ่านมาร์เก็ตติ้ง ของบริษัทฯหลักทรัพย์ที่เราใช้บริการอยู่ วิธีนี้จะเสียค่านายหน้า
0.25% ของมูลค่าซื้อ-ขาย ไม่รวม vat 7 %
ซึ่ง วิธีส่งคำสั่งซื้อ-ขาย ทั้ง 2 วิธี ถ้าหากคิด ค่านายหน้าแล้วต่ำกว่า 50 บาท จะคิดที่50 บาท เนื่องจาก
เป็นอัตราค่านายหน้าขั้นต่ำ
ยังไงก็ลองสอบถามข้อมูล จาก บริษัท หลักทรัพย์ที่เราสนใจอีกทีนะครับ