วันจันทร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2554

5/ช่องทางในการลงทุน


ความจริงแล้วผมเริ่มลงทุน ตั้งแต่เดือน พฤษจิกายน ปี52 แล้วครับ โดยในตอนแรกผมทดลองซื้อ-ขาย
โดยอาศัยพอร์ทของน้องในที่ทำงานคนนึง หุ้นตัวแรกที่ผมซื้อคือ jas บริษัท จัสมินอินเตอร์เนชั่นแนล
เป็นผู้ให้บริการ เกี่ยวกับ สายสัญาณเคเบิลใยแก้ว ตอนที่ซื้อ เชื่อมั๊ยครับ ผมไม่รู้ด้วยซ้ำว่าบริษัทนี้
ทำกิจการอะไร แต่ราคาต่อหุ้น แค่ 0.43 บาท ผมซื้อ 45000 หุ้น เป็นเงินเกือบ 20,000 บาท
พอตกเย็น ราคาเป็น 0.46 บาทผมสั่งขาย ที่0.45 บาท กำไร 0.02 บาท หักค่าคอมฯแล้ว
กำไรประมาณ 800 บาท โห ทำไมมันง่ายจัง วันเดียวได้ 800 บาท
แต่ขอโทษครับ ราคาของ jas ปัจจุบัน(ต้นปี 54 ) อยู่ที่ประมาณ 2 บาทครับ ถ้าผมมาขายตอนนี้
ก็ 45000x1.50= 67,500 บาทครับ แต่ตอนนั้น ผมไม่รู้ครับ ว่าวันข้างหน้ามันจะเป็นอย่างไร
หุ้นตัวต่อมา ก็คือ gsteel ราคาตอนนั้น ก็สูสีกับ jas ครับ ซื้อวันนี้ขายวันรุ่งขึ้น กำไร 2 สตางค์เหมือนกัน
แล้วในที่สุด ผมจึงตัดสินใจ เปิดพอร์ทซื้อขายหลักทรัพย์เอง

4/เริ่มต้นลงทุน

การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจลงทุน
พอได้ยินคำว่าเสี่ยง คนที่ไม่เข้าใจในการลงทุนก็โบกมือลาทันที ความจริงแล้วถ้าเราเปิดใจที่จะศึกษา
และทำความเข้าใจ เราก็จะรู้ว่า แท้ที่จริง มันไม่ใช่เรื่องยากเลย
บทความต่อจากนี้ไป ผมจะเล่าถึงประสบการณ์ แม้ว่ามันจะเป็นเพียงจุดเริ่มต้น และยังไม่มีบทสรุป
เพราะเป้าหมายของผมนั้น จะวัดผลเมื่อ 10 ปี ซึ่งยังอีกยาวไกล และเมื่อถึงเวลานั้น ไม่ว่าผลจะเป็น
อย่างไร ผมก็จะยอมรับมัน
สิ่งที่ผมปราถนา ก็คือ อยากให้คนที่มีโอกาสได้อ่านบทความในบล็อกแห่งนี้ ได้ร่วมเดินทางไปพร้อมกัน
เพราะสิ่งนี้มันไม่ใช่การพนัน หรืออะไรที่ต้องอาศัยสิ่งศักศิทธิ์ เพียงแค่ เรามีความตั้งใจและมีความ
มั่นคงทางอารมณ์เท่านั้น

วันอาทิตย์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2554

3/ทำให้เงินออมเติบโต

เงินที่เราอุตส่าห์ เก็บหอมรอมริบไว้นั้น จะด้อยมูลค่าลงไปเรื่อยๆตามระยะเวลาที่ผ่านไป หรือทาง
ภาษาการเงิน เรียกว่า ภาวะเงินเฟ้อ ตัวผมเองไม่สามารถอธิบายในเชิงวิชาการได้ แต่พอที่จะอธิบาย
ตามที่ผมเข้าใจดังนี้คือ เมื่อสักสิบปีที่แล้ว เราเคยกินข้าวราดแกง จานละ 10-12 บาท
แต่ปัจจุบัน ต้นปี 2554 เรา ต้องซื้อข้าวราดแกง จานละ 25-30 บาท แล้วอีก 10 ปีข้างหน้าเราจะต้อง
กินข้าวราดแกงจานละเท่าไหร่ นี่แหละครับ อิทธิพลของเงินเฟ้อ
ว่ากันว่า ตัวเลขภาวะอัตตรา เงินเฟ้อ อยู่ที่ 3.5-4% ซึ่ง ถ้าเราเอาเงินไปฝากธนาคาร ได้รับดอกเบี้ย
0.5% สำหรับเงินฝาก แบบออมทรัพย์ และประมาณ 2.5-4.5% สำหรับแบบฝากประจำ
ดูแล้ว น่าเหนื่อยนะครับ สุ้ เงินเฟ้อไม่ได้เลย
แล้วเราจะทำยังไงให้เงินออมของเรา ต่อสู้กับเงินเฟ้อได้ล่ะ
คำตอบก็คือ ให้เงินออมทำงาน ให้ได้ผลตอบแทน มากกว่าดอกเบี้ยเงินฝาก ด้วยการลงทุน
ไม่ว่าจะเป็น ซื้อทองคำเก็บ ซื้อพันธบัตร ลงทุนในหน่วยลงทุนต่างๆ และลงทุนในหุ้น ไงครับ

2/เริ่มต้นตั้งแต่วันนี้

การออมกับระยะเวลาในการออม มีผลต่อกันโดยตรง ยิ่งเริ่มต้นเร็วเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีเงินออมเพิ่มพูนมากขึ้น
เท่านั้น ในช่วงที่เริ่มต้นการทำงานเริ่มมีรายได้ เราควรคำนึงถึงการออมเป็นอันดับแรก
เริ่มจากจำนวนน้อยๆก่อนก็ได้ และเมื่อทำงานนานขึ้น มีรายได้มากขึ้น ก็ค่อยๆเพิ่มเพดาน เงินออม
ตามเพดานรายได้
อย่าผลัดวันประกันพรุ่ง คิดว่าเอาไว้มีรายได้มากๆก่อน ค่อยเริ่มก็ได้ เพราะนั่นหมายความว่า คุณไม่
พยายาม สร้างนิสัยในการออมเลย
อนาคตเป็นสิ่งที่ไม่มีใครรู้ได้ หากวันนึงมีเหตุการณ์ ที่ไม่คาดฝันเกิดขึ้น เช่น เจ็บป่วย ตกงาน
ทำให้ รายได้ที่มีต้องสะดุดหยุดลง อย่างน้อย เรายังมีเงินส่วนนี้ ไว้รองรับเหตุการณ์เหล่านั้นได้

1/การออมเพื่อวันหน้า

คนเราทุกคน เกิดมาก็ต้องทำงานหารายได้เพื่อเลี้ยงชีวิต ซึ่งแต่ละคนก็มีความสามารถในการหารายได้ไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับความรู้ความสามารถความขยันหมั่นเพียรจังหวะและโอกาสของแต่ละคน แต่สิ่งหนึ่ง ที่ทุกคนสามารถทำได้เหมือนกันก็คือ การออมเพื่อวันหน้า
หลายคนอาจจะคิดว่า ทำได้ยากมาก เพราะรายได้แต่ละเดือน ก็แทบจะไม่พอใช้จ่ายอยู่แล้ว
ที่เป็นเช่นนั้น ก็เพราะเราคิดว่า
รายได้-รายจ่าย=เงินออม
เราลองเปลี่ยนวิธีคิดใหม่เป็น
รายได้-เงินออม=รายจ่าย
ด้วยวิธีนี้ สำหรับคนที่ตั้งใจจะเก็บออมจริง น่าจะใช้ได้ผลที่ดี
ลองทบทวนดู ยิ่งถ้าเราเริ่มต้นเร็วเท่าไหร่ ความมั่นคงในชีวิต ก็อยู่ใกล้เรามากขึ้นเท่านั้น อย่ามัวแต่คิดว่า
เมื่อไหร่จะรวย อย่าฝันถึงอิสรภาพทางการเงิน ถ้าวันนี้เรายังไม่เริ่มต้น